1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งและขนาดพื้นที่
พื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลสบโขง มีพื้นที่อยู่ห่างจากที่ตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 223 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภออมก๋อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาเกียนและตำบลอมก๋อยอำเภออมก๋อย
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลยางเปียงอำเภออมก๋อย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
มีพื้นที่ทั้งหมด 387.4 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 242,125 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าตำบลสบโขงยังคงสภาพความสมบูรณ์ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 เมตร
หมู่ที่ 1 บ้านแม่หลองใต้
สภาพภูมิประเทศของพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขา (V shape) สลับด้วยลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่น้ำแม่หลอง และมีลำน้ำแม่หลองเป็นน้ำสายหลักไหลผ่านกลางพื้นที่โดยไหลผ่านชุมชน 3 ชุมชน ได้แก่ บ้านทีทอทะ บ้านแม่หลองใต้หรือบ้านทรอโกร และบ้านครอทะ ตามลำดับ อาณาเขตส่วนใหญ่ถูกแบ่งโดยเทือกเขาที่เป็นสันปันน้ำยกเว้นด้านที่ติดกับหมู่ที่ 11 จะใช้ลำน้ำสาขาเป็นเส้นแบ่งอาณาเขต
หมู่ที่ 2 บ้านแม่หลองน้อย
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเชิงเขาปะปนด้วยที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำที่มีอยู่เล็กน้อยมีลำน้ำสาขาสายหลัก คือ ห้วยลอโรโกรไหลลงสู่แม่น้ำแม่หลอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูน สภาพพื้นผิวดินในบางพื้นที่ที่ถูกชะล้างจะสามารถพบเห็นเนื้อหินที่โผล่ออกมาได้อาณาเขตทั้งหมดใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นแนวแบ่งเขตแดน ยกเว้นทางด้านติดหมู่ที่ 3 บ้านแม่หลองหลวงที่ใช้ทางน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดน
หมู่ที่ 3 บ้านแม่หลองหลวง
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูนเช่นเดียวกับหมู่ที่ 2 บ้านแม่หลองน้อย มียอดดอยสูงเป็นจุดชมทิวทัศน์บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่หลอง สามารถพบเห็นถ้ำซึ่งเป็นลักษณะเด่นของภูมิประเทศแบบภูเขาหินปูนนี้ได้บ้างพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่ลาดเชิงเขาสลับกับพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำแม่หลอง ซึ่งหมู่ที่ 3 บ้านแม่หลองหลวงนี้มีจำนวนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ คิดเป็นลำดับต้นๆ ของพื้นที่ตำบลสบโขงอาณาเขตส่วนใหญ่ใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นเขตแดน ยกเว้นด้านที่ติดหมู่ที่ 2 บ้านแม่หลองน้อย
หมู่ที่ 4 บ้านขุนตื่น
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีที่ราบระหว่างหุบเขาเล็กน้อยบริเวณชุมชนบ้านห้วยหมีและชุมชนบ้านขุนตื่น อาณาเขตแบ่งโดยใช้สันปันน้ำสูงสุด อีกทั้งเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดลำน้ำสาขาหลายสาย
หมู่ที่ 5 บ้านขุนอมแฮด
มีจำนวนพื้นที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในตำบลสบโขง เป็นแหล่งต้นกำเนิดน้ำสาขาหลายสาย มีภูมิประเทศเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนจำนวนมาก ปะปนด้วยที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำจำนวนเล็กน้อย ในบริเวณชุมชนบ้านขุนอมแฮดนอกและชุมชนขุนอมแฮดใน ซึ่งเป็นที่ตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริดอยแบแล โดยมียอดดอยสูงสุดของตำบลสบโขง ได้แก่ ยอดดอยที่มีความสูง 1,826 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่บริเวณทางทิศใต้ของดอยแบแล อาณาเขตทางทิศใต้แบ่งโดยใช้สันปันน้ำสูงสุด ส่วนทางทิศเหนือใช้ลำน้ำแม่ตื่น และทางทิศตะวันออกใช้แนวสันเขาเตี้ยๆ เป็นแนวแบ่งเขตแดน
หมู่ที่ 6 บ้านอูแจะ
ลักษณะภูมิประเทศของหมู่ที่ 6 บ้านอูแจะ เป็นลักษณะพื้นที่ภูเขาหินปูนชุดเดียวกับหมู่ที่ 2 บ้านแม่หลองน้อยและหมู่ที่ 3 บ้านแม่หลองหลวงซึ่งต่อเนื่องกัน สามารถพบน้ำผุดและถ้ำซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของภูมิประเทศแบบเขาหินปูน มียอดภูเขาสูง คือ ดอยหลวงแม่หลอง เป็นจุดแบ่งอาณาเขตทางทิศใต้ ส่วนทางทิศเหนือและทิศตะวันตกใช้น้ำแม่โขงเป็นเขตแดน ด้านทิศใต้ใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นเขตแดน ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชัน มีที่ราบริมฝั่งแม่น้ำเพียงเล็กน้อยบริเวณชุมชนบ้านผาผึ้ง
หมู่ที่ 7 บ้านห้วยยาว
มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน ไม่มีที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเป็นจุดต้นกำเนิดลำน้ำสาขาที่สำคัญ มียอดดอยสูงสุดที่ความสูง 1,456 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อาณาเขตถูกแบ่งโดยใช้ลักษณะการทำประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ยกเว้นทางทิศตะวันออกใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นเขตแดน
หมู่ที่ 8 บ้านตะกอคะ
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชัน มีที่ราบลุ่มบริเวณริมฝั่งลำน้ำสาขาของน้ำแม่เงา บริเวณชุมชนบ้านตะกอคะเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำของลำน้าห้วยตะกอคะและห้วยที่ทอโกร มีน้ำตกที่สำคัญ คือ น้ำตกตะกอคะ ที่เกิดจากการยกตัวขึ้นของแผ่นดิน มียอดเขาสูงสุดบริเวณชุมชนบ้านตะกอคะที่ความสูง 1,404 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อาณาเขตด้านทิศตะวันตกใช้แนวเทือกเขาที่ทอดกว้างแนวเหนือ - ใต้ โดยตัดผ่านลำน้ำสาขาสายต่างๆ ด้านทิศเหนือแบ่งโดยใช้การใช้ประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ ส่วนด้านทิศใต้และทิศตะวันออก ใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นเขตแดนในการแบ่ง
หมู่ที่ 9 บ้านแม่เงา
ภูมิประเทศเป็นลักษณะที่ลาดเชิงเขา (V slope) โดยมีลำน้ำแม่เงาไหลผ่านกลางพื้นที่ มีพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำเพียงเล็กน้อย แนวเทือกเขาต่างๆ ที่ปรากฏมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางไม่สูงนัก โดยมีจุดสูงสุดเพียง 905 เมตร อาณาเขตใช้เทือกเขาสูงที่เป็นสันปันน้ำเป็นเขตแดน
หมู่ที่ 10 บ้านโอโลคี
มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ น้ำแม่เงา และน้ำแม่หลอง ซึ่งจัดได้ว่ามีพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมากที่สุดในพื้นที่อีกแห่งหนึ่งในตำบลสบโขง อาณาเขตใช้ลำน้ำแม่เงาและลำน้ำสาขาของน้ำแม่โขงเป็นเขตแดน ยกเว้นทางทิศตะวันออก ใช้แนวเทือกเขาที่ทอดกว้างลงมาจากยอดดอยสูงสุด
หมู่ที่ 11 บ้านพะเบี้ยว
ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำของลำน้ำสองสาย ได้แก่ น้ำแม่หลองที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ และน้ำห้วยมอคี มีพื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเล็กน้อยบริเวณชุมชนบ้านพะเบี้ยว อาณาเขตด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือใช้แนวเขตสันเขาที่ทอดตัวจากดอยหลวงแม่หลอง ส่วนทางทิศตะวันออกและทิศใต้ใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นแนวแบ่งเขต
หมู่ที่ 12 บ้านห้วยน้ำผึ้ง
เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับลำน้ำแม่โขง มีพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำเล็กน้อย มีเทือกเขาที่ทอดตัวลงมาจากยอดดอยหลวงแม่หลองสลับกับลำห้วยสาขาหลายสายมียอดดอยสูงสุดที่ความสูง 1,212 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง อาณาเขตด้านทิศตะวันตกใช้น้ำแม่โขงเป็นเขตแดน ด้านทิศใต้และทิศเหนือใช้ลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเป็นเขตแดน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกใช้สันปันน้ำสูงสุดเป็นเขตแดน
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ตำบลสบโขงมีสภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
• ฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 4 – 5 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย 16 – 20 องศาเซลเซียส
• ฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 17 – 25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย 25 – 40 องศาเซลเซียส
• ฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิทั่วไปเฉลี่ย 25 – 30 องศาเซลเซียสมีระดับน้ำฝนเฉลี่ย 1,700 – 2,000 มม./ปี
2. ด้านการเมือง-การปกครอง
เขตการปกครอง
ตำบลสบโขง เป็นตำบลอยู่ในท้องที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่แยกออกจากตำบล
ยางเปียง เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2532 โดยเริ่มแรกมีเขตการปกครอง รวม 10 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 โอนจากหมู่ที่ 11 (บ้านทอโกร) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 2 โอนจากหมู่ที่ 12 (บ้านแม่หลองน้อย) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 3 โอนจากหมู่ที่ 13 (บ้านแม่หลองหลวง) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 4 โอนจากหมู่ที่ 14 (บ้านขุนตื่น) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 5 โอนจากหมู่ที่ 15 (บ้านสบอมแฮด) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 6 โอนจากหมู่ที่ 18 (บ้านอูแจะ) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 7 โอนจากหมู่ที่ 7 (บ้านห้วยยาว) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 8 โอนจากหมู่ที่ 8 (บ้านตะกอคะ) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 9 โอนจากหมู่ที่ 9 (บ้านแม่เงา) ตำบลยางเปียง
หมู่ที่ 10 โอนจากหมู่ที่ 10 (บ้านโอโลคี) ตำบลยางเปียง
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านแม่โขง หมู่ที่ 12 บ้านแม่ลอก หมู่ที่ 8 บ้านยางเปา หมู่ที่ 2 ตำบลอมก๋อย โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสบห้วยผีลืมที่ไหลบรรจบกับลำห้วยแม่โขง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวกึ่งกลางของลำห้วยผีลืม ข้ามสันเขาดอยผีลืม ลงไปตามกึ่งกลางขุนห้วยยองเหละกับห้วยจิโน และไปกึ่งกลางลำน้ำแม่ตื่น สิ้นสุดที่สบห้วยอมแฮด ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านหลวง หมู่ที่ 1 บ้านแม่ลาน หมู่ที่ 3 บ้านห้วยปู หมู่ที่ 4 บ้านห้วยตอง หมู่ที่ 6 บ้านห้วยโค้ง หมู่ที่ 5 ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสบห้วยอมแฮด ตามแนวกึ่งกลางของลำห้วยอมแฮดถึงยอดเขาขุนห้วยอมแฮด และไปตามแนวกึ่งกลางสันเขาดอยแบแล เชื่อมต่อไปตามกึ่งกลางสันเขาขุนห้วยแม่หาดจนถึงสันเขาดอยขุนเงา สิ้นสุดที่ดอยขุนเงา ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากดอยขุนเงา ไปทางทิศตะวันตก ตามกึ่งกลางสันเขาดอยขุนเงาและกึ่งกลางลำห้วยแม่โป๊ะโกรและลำห้วยแม่เงาไปจนถึงสบโขง ตามที่น้ำแม่โขงไหลมาบรรจบกับลำน้ำแม่เงา สิ้นสุดที่สบโขง (เส้นแบ่งเขตจังหวัดตากกับจังหวัดเชียงใหม่) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับกิ่งอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบ้านแม่โขง
หมู่ที่ 12 ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากสบโขง ไปทางทิศเหนือ ตามแนวกึ่งกลางห้วยแม่โขงถึงสบห้วยสะเตโกร ตามกึ่งกลางลำห้วยแม่โขงสิ้นสุดที่สบห้วยผีลืม ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร
และได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสบโขง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 จากสภาตำบลสบโขง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลสบโขง โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539)
3. ประชากร
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากรในตำบลสบโขงมีทั้งสิ้น 8,184 คน แยกเป็นชายจำนวน 4,248 คน หญิงจำนวน 3,936 คน จำนวนครัวเรือนเฉลี่ยความหนาแน่น 22 คน/ตารางกิโลเมตร ซึ่งประชากรในเขตตำบลสบโขงเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง แต่ละหมู่บ้านในเขตตำบลสบโขงมีทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนแยกเป็นประชากรชายและหญิง ดังต่อไปนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
1 |
บ้านแม่หลองใต้ |
326 |
475 | 448 | 923 |
2 |
บ้านแม่หลองน้อย |
162 |
275 | 270 | 545 |
3 |
บ้านแม่หลองหลวง |
206 |
406 | 365 | 771 |
4 |
บ้านขุนตื่น |
211 |
246 | 239 | 485 |
5 |
บ้านขุนอมแฮด |
320 |
466 | 455 | 921 |
6 |
บ้านอูแจะ |
139 |
186 | 152 | 338 |
7 |
บ้านห้วยยาว |
91 |
136 | 134 | 270 |
8 |
บ้านตะกอคะ |
115 |
137 | 109 | 246 |
9 |
บ้านแม่เงา |
221 |
439 | 337 | 776 |
10 |
บ้านโอโลคี |
478 |
723 | 694 | 1,417 |
11 |
บ้านพะเบี้ยว |
206 |
452 | 453 | 905 |
12 |
บ้านห้วยน้ำผึ้ง |
154 |
307 | 280 | 587 |
รวม |
2,629 |
4,248 |
3,936 |
8,184 |
ที่มา : ข้อมูลฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1-24 มีนาคม พ.ศ. 2563
เวลา 16.27 น.
4. การศึกษา
4.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา
• โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่งดังนี้ (ข้อมูล ปี 2562)
1. โรงเรียนบ้านแม่หลองน้อย
หมู่ที่ 2 จำนวนนักเรียน 170 คน
2. โรงเรียนบ้านขุนตื่น
หมู่ที่ 4 จำนวนนักเรียน 65 คน
• โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 2 แห่ง ดังนี้ (ข้อมูล ปี 2562)
1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิง ประไพ ศิวโกเศศ
ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 บ้านห้วยน้ำผึ้ง (ผาแดง) จำนวนนักเรียน 96 คน
2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เชฟ แชร์ริตี้ บ้านแม่หลองใต้
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านแม่หลองใต้ จำนวนนักเรียน 123 คน
• ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศ.ศ.ช.) จำนวน 26 แห่ง ดังนี้ (ข้อมูล ปี 2562)
1. ศศช. บ้านครอทะ
หมู่ที่ 1 จำนวนนักเรียน 80 คน
2. ศศช. บ้านทีทอทะ
หมู่ที่ 1 จำนวนนักเรียน 23 คน
3. ศศช. บ้านพะอัน
หมู่ที่ 5 จำนวนนักเรียน 45 คน
4. ศศช. บ้านขุนแฮดใน
หมู่ที่ 5 จำนวนนักเรียน 29 คน
5. ศศช. บ้านขุนแฮดนอก
หมู่ที่ 5 จำนวนนักเรียน 10 คน
6. ศศช. บ้านอูแจะ
หมู่ที่ 6 จำนวนนักเรียน 23 คน
7. ศศช. บ้านห้วยแห้ง
หมู่ที่ 6 จำนวนนักเรียน 17 คน
8. ศศช. บ้านผาผึ้ง
หมู่ที่ 6 จำนวนนักเรียน 12 คน
9. ศศช. บ้านห้วยยาว
หมู่ที่ 7 จำนวนนักเรียน 64 คน
10. ศศช. บ้านตะกอคะ
หมู่ที่ 8 จำนวนนักเรียน 44 คน
11. ศศช. บ้านปริโกร
หมู่ที่ 8 จำนวนนักเรียน 33 คน
12. ศศช. บ้านมอโพรทะ
หมู่ที่ 9 จำนวนนักเรียน 52 คน
13. ศศช. บ้านสะเรเดคี
หมู่ที่ 9 จำนวนนักเรียน 26 คน
14. ศศช. บ้านวาเมทะ
หมู่ที่ 9 จำนวนนักเรียน 24 คน
15. ศศช. บ้านทีผะแหล่
หมู่ที่ 9 จำนวนนักเรียน 62 คน
16. ศศช. บ้านโอโลคีบน
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 80 คน
17. ศศช. บ้านโอโลคีล่าง
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 42 คน
18. ศศช. บ้านจือทะ
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 14 คน
19. ศศช. บ้านเมโลเด
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 37 คน
20. ศศช. บ้านทีเลอเปอคี
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 28 คน
21. ศศช. บ้านมอโกรทะ
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 48 คน
22. ศศช. บ้านคะเนจือคี
หมู่ที่ 10 จำนวนนักเรียน 46 คน
23. ศศช. บ้านราชา
หมู่ที่ 11 จำนวนนักเรียน 79 คน
24. ศศช. บ้านพะเบี้ยว
หมู่ที่ 11 จำนวนนักเรียน 46 คน
25. ศศช. บ้านมอคี
หมู่ที่ 11 จำนวนนักเรียน 41 คน
26. ศศช. บ้านห้วยน้ำผึ้ง
หมู่ที่ 12 จำนวนนักเรียน 34 คน
4.2 สาธารณสุข
• สถานีอนามัยประจำตำบลสบโขง จำนวน 4 แห่ง คือ
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแม่หลองหลวง หมู่ที่ 3
2. สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านแม่หลองใต้ หมู่ที่ 1
3. สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านทีผะแหล่ หมู่ที่ 9
4. สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมโลเด หมู่ที่ 10
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
ระยะทางจากอำเภอถึงหมู่บ้าน 38 กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นระยะสลับกับถนนดินในช่วงฤดูแล้งรถยนต์ สามารถวิ่งเข้าถึงหมู่บ้านได้ทั้ง 12 หมู่บ้านและช่วงฤดูฝนรถยนต์สามารถวิ่งได้ 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2 บ้านแม่หลองน้อย หมู่ที่ 3 บ้านแม่หลองหลวง หมู่ที่ 4 บ้านขุนตื่น หมู่ที่ 5 บ้านขุนอมแฮด หมู่ที่ 6 บ้านห้วยแห้ง และหมู่ที่ 11 บ้านพะเบี้ยว ที่เหลือต้องใช้การเดินเท้าเข้าไปหมู่บ้านละประมาณ 4 – 8 ชั่วโมง
5.2 การไฟฟ้า
• หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 3 หมู่บ้าน ดังนี้
1. บ้านแม่หลองน้อยและหย่อมบ้านบูแมะ หมู่ที่ 2
2. บ้านแม่หลองหลวงและหย่อมบ้านกออึ หมู่ที่ 3
3. บ้านขุนอมแฮด (ขุนอมแฮดนอกและหย่อมบ้านขุนอมแฮดใน) หมู่ที่ 5 (ยกเว้นหย่อมบ้านพะอัน)
4. บ้านพะเบี้ยว หมู่ที่ 11 (ยกเว้นหย่อมบ้านราชาและหย่อมบ้านมอคี)
• หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานน้ำ จำนวน 1 หมู่บ้าน ดังนี้
1. บ้านห้วยน้ำผึ้ง หมู่ที่ 12 (บ้านห้วยน้ำผึ้งและหย่อมบ้านผาแดง)
• หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 9 หมู่บ้าน ดังนี้
1. บ้านแม่หลองใต้ หมู่ที่ 1
2. บ้านขุนตื่น หมู่ที่ 4
3. บ้านขุนอมแฮด (เฉพาะหย่อมบ้านพะอัน) หมู่ที่ 5
4. บ้านอูแจะ หมู่ที่ 6
5. บ้านห้วยยาว หมู่ที่ 7
6. บ้านตะกอคะ หมู่ที่ 8
7. บ้านแม่เงา หมู่ที่ 9
8. บ้านโอโลคี หมู่ที่ 10
9. บ้านพะเบี้ยว (เฉพาะหย่อมบ้านราชาและหย่อมบ้านมอคี) หมู่ที่ 11
5.3 การประปา
• ใช้ประปาภูเขา ทั้ง 12 หมู่บ้าน
5.4 โทรศัพท์
ตำบลสบโขง มีการสื่อสารและโทรคมนาคม ดังนี้
• มีเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือตั้งในพื้นที่ ได้แก่ (ใช้ได้ในบางพื้นที่)
AIS, TRUE, CAT, TOT
• โครงการเน็ตประชารัฐ (ใช้ได้ในบางพื้นที่)
5.6 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ตำบลสบโขง ไม่มีที่ทำการไปรษณีย์และสาขาย่อยไปรษณีย์ตั้งในตำบลสบโขง ปกติจะส่งการไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ จะส่งมายังไปรษณีย์อมก๋อย 50310 แล้วจะมีบุคคลนำเอกสารฝากมายังจุดร้านค้าในหมู่บ้าน เพื่อฝากเอกสารต่างๆ ไปยังบุคคลในจดหมายต่อไป การส่งไปรษณีย์มายังตำบลสบโขง ผู้รับจะได้จดหมายช้า หรือ มีโอกาสสูญหายสูง
การบริการขนส่งพัสดุ Logistics Express เช่น Kerry Express, DHL, Ninja Van ฯลฯ การจัดส่งพัสดุด่วนทั่วไทย บริการรับส่งพัสดุและ สินค้าถึงที่ บริการ
6. ระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากในเขตตำบลสบโขง เป็นพื้นที่เขตป่าสงวนทั้งหมด ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจยังมีไม่มาก การดำรงชีวิตของประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกร เพื่อยังชีพอาศัยแรงงานครัวเรือนเป็นหลัก หากสามารถเพาะปลูกได้จำนวนมากก็จะนำไปขายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรแล้วอาชีพรองลงมา ได้แก่ การค้าขายและการรับจ้าง
6.1 การเกษตร
ประชากรตำบลสบโขงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเพื่อยังชีพ คือ การปลูกข้าวไร่ และข้าวนาปีมีบ้างเป็นส่วนน้อย เพราะพื้นที่ทั้งหมดของตำบลสบโขงเป็นภูเขาสูงชันอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งในปัจจุบันได้มีโครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจให้กับประชากรในตำบลสบโขง จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านแม่หลองใต้ หมู่ที่ 2 บ้านแม่หลองน้อย หมู่ที่ 3 บ้านแม่หลองหลวง หมู่ที่ 4 บ้านขุนตื่น หมู่ที่ 5 เฉพาะหย่อมบ้านพะอัน หมู่ที่ 6 บ้านอูแจะ หมู่ที่ 7 บ้านห้วยยาว หมู่ที่ 8 บ้านตะกอคะ หมู่ที่ 9 บ้านแม่เงา และหมู่ที่ 11 บ้านพะเบี้ยว ซึ่งมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพทางการเกษตร ดังต่อไปนี้ ไม้ผล ได้แก่ อโวคาโด พลับ และเสาวรส ไม้ยืนต้น ได้แก่ ไผ่หวาน กาแฟ พืชผักสวนครัว พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ กะหล่ำปลี พริก พืชอื่นๆ เช่น พืชไร่ ข้าวนา
6.2 การประมง
ประชาชนตำบลสบโขงไม่มีอาชีพด้านการประมง แต่หลายหมู่บ้าน/หลายชุมชน มีการอนุรักษ์แหล่งพันธุ์ปลา โดยจะมีเขตห้ามจับปลาหลายแหล่ง แต่ละแห่งจะกำหนดให้มีการจับปลาได้ปีละครั้ง
6.3 การปศุสัตว์
การปศุสัตว์ในตำบลสบโขง เป็นเพื่อใช้งาน เป็นอาหาร และแลกเปลี่ยนซื้อขาย เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ แพะ เป็นต้น
6.4 การบริการ
มีร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซต์ 3 แห่งในตำบล และ ร้านซ่อมรถยนต์ 1 แห่ง ไม่มีสถานที่บันเทิง มีเหล่งท่องเที่ยวในตำบลสบโขงจำนวนมาก แต่ไม่มีธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่ เนื่องจากสภาพคมนาคมส่วนมากมีความยากลำบากและพื้นที่มีความทุรกันดาร